Last updated: 9 ส.ค. 2565 | 1047 จำนวนผู้เข้าชม |
ไมโครพลาสติก (Microplastics) คือ พลาสติกที่มีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ซึ่งพลาสติกเหล่านี้ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. Primary Microplastics เป็นเม็ดพลาสติกขนาดเล็ก ถูกผลิตขึ้นจากโรงงานตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เช่น ไมโครบีดส์ (microbeads) เม็ดกลมๆ เล็ก ในยาสีฟัน โฟมล้างหน้า สครับขัดผิว หรือเครื่องสำอาง ส่วนมากจะผลิตจาก โพลีเอทิลีน (Polyethylene)
2.Secondary Microplastic คือเศษพลาสติกที่แตกหักหลุดร่อยหรือผุกร่อน จากแสงอาทิตย์ คลื่น หรือแรงอัดบีบ ทำให้มีขนาดและหน้าตาที่แตกต่างกันออกไป
พวกเหล่าไมโครพลาสติกนี้ ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ผลิตขึ้นมา เมื่อถูกปล่อยลงสู่แม่น้ำและมหาสมุทร ด้วยความที่มีขนาดเล็กมาก ทำให้ไม่สามารถคัดกรองสิ่งปนเปื้อนนี้ได้ ส่งผลให้สัตว์น้ำที่อยู่ในแหล่งน้ำกลืนกินเข้าสู่ร่างกาย สะสมอยู่ในกระเพาะเป็นจำนวนมาก เมื่อมันไม่เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย สุดท้ายก็ย่อมตายในที่สุด
มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ได้เลย เพราะมันเจือปนทั้งในอาหาร แหล่งน้ำ บรรจุภัณฑ์พลาสติก และการสัมผัสฝุ่นละออง เป็นต้น จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งหนานจิง ตรวจสอบอุจจาระของผู้ป่วยด้วยโรคลำไส้ชนิดหนึ่ง จำนวน 52 คน และคนที่ไม่ปรากฏอาการ จำนวน 50 คน พบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคลำไส้มีอนุภาคไม่โครฯ ต่อกรัม มากกว่ากลุ่มที่ไม่ปรากฏอาการ ถึง 1 เท่า และยังพบอีกว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้ IBD หรือ inflammatory bowel disease (ยังไม่มีชื่อภาษาไทยอย่างเป็นทางการ แต่จากลักษณะอาการคือลำไส้อักเสบเรื้อรัง) มีไมโครฯ ในอุจจาระมากกว่าคนที่ไม่มีอาการถึง 50%
ส่วนในงานวิจัยของคณะแพทย์ศาสตร์ฮล ยอร์ก (Hull York Medical School) แห่งสหราชอาณาจักร จากการทดลองพบว่า การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนไม่โครฯ เข้าสู่ร่างกาย สร้างความเสียหายให้แก่เซลล์ของมนุษย์ได้ โดยนักวิทยาศาสตร์จีนก็มีรายงานเช่นเดียวกันว่า จากการสำรวจยังไม่แน่ชัดว่าไมโครฯ นั้น จะอยู่ในร่างกายของมนุษย์ได้นานเท่าไรถึงจะถูกขับออกมา แต่นี่คืองานวิจัยแรกที่พบอันตรายจากการที่มนุษย์รับไมโครฯ เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะนำไปสู่การตายของเซลล์และปฏิกิริรยาการแพ้อีกด้วย
นี่ไม่ใช่ปัญหาที่ไกลตัวมนุษย์อย่างเราๆ เลย ในอนาคตนักวิจัยอาจจะสามารถระบุถึงอาหารที่ปนเปื้อนไม่โครฯ ได้ เพื่อให้หลีกเลี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทาน แต่นั้นอาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ สิ่งที่ควรจะทำที่สุดในตอนนี้คือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมด้านการผลิตที่เกี่ยวข้องกับไมโครฯ หยุดทิ้งขยะพลาสติกลงในแม่น้ำ ลดละเลิกใช้วัสดุที่เป็นพลาสติก และหันมาใช้วัสดุทางธรรมชาติที่ย่อยสลายได้แทน ทุกคนต้องให้ความร่วมมือเพื่อรักษาสุขภาพของเราและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://page.postjung.com/eart256
12 ธ.ค. 2566
2 ธ.ค. 2566
27 พ.ย. 2566
2 ธ.ค. 2566