"ภูมิแพ้" ขนเหมียว เรื่องราวที่ทาสต้องรู้ !!

Last updated: 29 มิ.ย. 2565  |  775 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"ภูมิแพ้" ขนเหมียว เรื่องราวที่ทาสต้องรู้ !!

การแพ้แมวเป็นหนึ่งในอาการแพ้ที่พบบ่อย จากการสำรวจพบว่าเกือบหนึ่งในสามของชาวอเมริกันที่เป็นภูมิแพ้ มีอาการแพ้แมวและสุนัข และพบว่ามีผู้ที่มีอาการแพ้แมวมากกว่าผู้ที่มีอาการแพ้สุนัขถึง 2 เท่า ในขณะที่คนไทยเมื่อปี 2018 มีการเก็บข้อมูลในคลินิกโรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลรามาธิบดีพบว่า คนไทยแพ้แมว 12.9% และ แพ้สุนัข 10% เท่านั้น

การระบุสาเหตุของการแพ้ อาจเป็นเรื่องยาก นั่นเป็นเพราะภายในบ้านมีสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ เช่น ไรฝุ่น ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้คล้ายกัน  เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับคนรักสัตว์เลี้ยง ที่จะต้องยอมรับว่าแมวที่เลี้ยงนั้นกำลังก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ หลายคนก็ยังเลือกที่จะอยู่กับสัตว์เลี้ยงที่รักภายในบ้าน แทนการหลีกเลี่ยงหรือการย้ายสัตว์เลี้ยงออกห่างจากตัว
สาเหตุของการแพ้ขนแมว
การแพ้ขนแมวอาจมีที่มาจากสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากน้ำลายและผิวหนังของแมว เพราะสารก่อภูมิแพ้อาจติดมากับขนแมวขณะที่แมวเลียขนตัวเอง แล้วขนก็อาจจะลอยขึ้นไปในอากาศ ซึ่งเมื่อเราสูดดมสารดังกล่าวเข้าไปก็อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เพราะอนุภาคของสารก่อภูมิแพ้ในสัตว์เลี้ยงนั้นสามารถติดไปกับเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์และที่นอนของเรา ซึ่งนั่นก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่ไม่ได้เลี้ยงแมวก็อาจจะมีอาการแพ้ขนแมวได้เช่นกัน
อาการแพ้ขนแมว
อาการทั่วไปของการแพ้แมว จะเกิดอาการบวมและอาการคันของเนื้อเยื่อรอบดวงตาและจมูก มักจะนำไปสู่การอักเสบของดวงตา ในบางรายอาจมีผื่นที่ใบหน้า คอ หรือ หน้าอกส่วนบน นอกจากนี้บางคนจะรู้สึกคันจมูก จามบ่อย น้ำมูกไหล ระคายคอหลังจากสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ดังกล่าวจากแมว


  สำหรับผู้ที่เป็นโรคหืด ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแมว เพราะมีโอกาสที่อาการจะรุนแรงขึ้น ในกรณีที่สารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในขนแมวหลุดเข้าไปในหลอดลม สารก่อภูมิแพ้จะไปกระตุ้นแอนติบอดี้บางชนิดบนผิวของเซลล์เม็ดเลือดขาวบางสายพันธ์ ทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก ไอ และหายใจเสียงดัง วี้ดๆ ซึ่งเป็นอาการกำเริบของโรคหืดเฉียบพลัน และเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคหอบหืดเรื้อรังอีกด้วย  มีข้อมูลว่า 30% ของผู้ที่เป็นโรคหืด อาจจะมีอาการหนักขึ้นเมื่อสัมผัสกับแมว ดังนั้นควรรีบปรึกษาอายุรแพทย์โรคภูมิแพ้เพื่อทำการรักษาที่ถูกต้อง
การตรวจวินิจฉัยอาการแพ้ขนแมว
มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ การทดสอบทางเลือด และการทดสอบทางผิวหนังโดยวิธีการสะกิด (Skin prick test) ซึ่งวิธีหลังจะให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าวิธีแรก

ยาบางชนิดที่คนไข้รับประทานอาจรบกวนต่อการทดสอบผิวหนัง ดังนั้นควรปรึกษาอายุรแพทย์โรคภูมิแพ้ก่อนการทดสอบ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้